LAB#1 การทดสอบความจุ Power Bank 30000mA โดยใช้โหลดจำลองแทนโทรศัพท์มือถือ
อุปกรณ์ที่ใช้ใน LAB#1 นี้
1.Power Bank 30000mA
2.โหลดอิเล็กทรอนิกส์ขนาด 35W
3.อุปกรณ์ทดสอบแรงดันไฟฟ้าและบันทึกปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าขนาด 100W
ขั้นตอนการทดสอบมีดังนี้ครับ
1.เราทำการต่อโหลดเข้ากับ Power Bank
2.ตั้งแรงดันไฟฟ้าที่โหลดเป็น 12V **จริงๆจะใช้ 5V แต่กลัวจะนานเกินไป(วัยรุ่นใจร้อน)เลยใช้ 12V ในการทดสอบนี้ครับ(ค่าที่วัดจริงได้ 12.18V นะครับ)
3.ตั้งค่ากระแสไฟฟ้าที่เราต้องการเทสในที่นี้ผมตั้ง 1000mA/hr (จำลองการชาร์จของโทรศัพท์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า)
4.ทำการทดสอบดึงพลังงานจาก Power Bank จากไฟเต็มจนหมด (Power Bank ดับลง)
ผลลัพท์ที่ได้จากการทดสอบครั้งนี้
1.เราใช้เวลาทดสอบทั้งหมด 6ชั่วโมง 51นาที 42วินาที จากไฟเต็มจน Power Bank ดับลง (ผมไม่ได้นั่งเฝ้านะครับใช้โปรแกรมช่วยจับเวลาให้ ถ้านั่งเฝ้าวันนี้ตาเป็นหมีแพนด้าไปทำงานแน่นอนครับ)
2.ผลการจ่ายพลังงานไฟฟ้าของ Power Bank (นำค่าที่ได้มาคำนวนตามรายละเอียดดังนี้ครับ)
แรงดันไฟฟ้าที่ทดสอบ
12.18 V
กระแสไฟฟ้ารวมที่เราดึงจาก Power Bank จนดับ (เป็นค่าที่ได้จากเครื่องมือที่ใช้ทดสอบ)
6977 mA
1.เราทำการต่อโหลดเข้ากับ Power Bank
2.ตั้งแรงดันไฟฟ้าที่โหลดเป็น 12V **จริงๆจะใช้ 5V แต่กลัวจะนานเกินไป(วัยรุ่นใจร้อน)เลยใช้ 12V ในการทดสอบนี้ครับ(ค่าที่วัดจริงได้ 12.18V นะครับ)
3.ตั้งค่ากระแสไฟฟ้าที่เราต้องการเทสในที่นี้ผมตั้ง 1000mA/hr (จำลองการชาร์จของโทรศัพท์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า)
4.ทำการทดสอบดึงพลังงานจาก Power Bank จากไฟเต็มจนหมด (Power Bank ดับลง)
ผลลัพท์ที่ได้จากการทดสอบครั้งนี้
1.เราใช้เวลาทดสอบทั้งหมด 6ชั่วโมง 51นาที 42วินาที จากไฟเต็มจน Power Bank ดับลง (ผมไม่ได้นั่งเฝ้านะครับใช้โปรแกรมช่วยจับเวลาให้ ถ้านั่งเฝ้าวันนี้ตาเป็นหมีแพนด้าไปทำงานแน่นอนครับ)
2.ผลการจ่ายพลังงานไฟฟ้าของ Power Bank (นำค่าที่ได้มาคำนวนตามรายละเอียดดังนี้ครับ)
แรงดันไฟฟ้าที่ทดสอบ
12.18 V
กระแสไฟฟ้ารวมที่เราดึงจาก Power Bank จนดับ (เป็นค่าที่ได้จากเครื่องมือที่ใช้ทดสอบ)
6977 mA
คำนวนพลังงานรวมที่จ่ายได้จากสูตร P(Power Bank) = Vout x Iout ได้พลังงานรวมที่จ่ายให้โหลดคือ
= 12.18 X 6977
= 12.18 X 6977
84979.9 mW
3.แต่เนื่องจาก Battery ภายใน Power Bank เป็นขนาด 3.7V จึงต้องมีวงจรเพิ่มแรงดันเป็น 5V - 12V เพื่อให้สามารถชาร์จกับมือถือหรืออุปกรณ์ต่างๆได้ (Quick Charge 3.0 หรือเรียกสั้นๆว่า QC3.0 รองรับการชาร์จด่วน) ซึ่งจะเกิดการสูญเสียพลังงานในส่วนของวงจรเพิ่มแรงดันนี้ด้วย "โดยทั่วไปผมคิดว่าประสิทธิภาพของวงจรน่าจะอยู่ที่ 80% หรือมากกว่า นั่นแปลว่าเราสูญเสียพลังงานไป 20% นั่นเอง" ดังนั้นพลังงานรวมที่แท้จริงจะสามารถคำนวนได้จากสูตรดังนี้
พลังงานรวมที่แท้จริงที่ Battery จ่ายได้ P(Battery 100%) = P(Power Bank 80%) + Ploss(สูญเสียจากวงจรเพิ่มแรงดัน 20%)
เมื่อทำการแปลงสมการก็จะได้สูตรคำนวนออกมาตามนี้ P(Battery 100%) = P(Power Bank 80%) / 0.8
P(Battery 100%) = 84979.9 / 0.8
106224.8 mW
4. จากข้อ 3 เราจะมาคำนวนว่า Power Bank ที่นำมาทดสอบนี้จะมีความจุถึง 30000mA ไหมนะ?
ความจุของ Power Bank ตัวนี้ = P(Battery)/3.7 (คือแรงดันของ Battery ภายใน Power Bank)
= 106224.8 / 3.7
28709.4 mA
5.จากข้อที่ 4 จะได้ว่า Power Bank ตัวนี้มีความจุประมาณ 29000mA (จากการทดลองนี้นะครับ)
สรุป
จากการทดสอบทั้งหมดประมาณ 7 ชั่วโมงของเรา Power Bank มีความจุใกล้เคียงกับค่าที่ผู้ผลิตบอกไว้ ซึ่งค่าความจุที่หายไปนั้นอาจเกิดจากค่าการสูญเสียอื่นๆ...."ก็เป็นได้"(เสียงหลอนนน!!!!)
ตอนต่อไปเราจะมาดูกันว่าเราต้องใช้พลังงานมากเท่าไรและเสียค่าไฟฟ้ากี่บาท ในการชาร์จ Power Bank 30000 mA ตัวนี้จนเต็ม
**การทดสอบนี้เป็นเพียงการศึกษาการจ่ายพลังงานไฟฟ้าของ Power Bank เท่านั้น ไม่ได้มีจุดประสงค์อื่นที่มีเจตนาบอกว่า Power Bank ตัวนี้ดีหรือไม่ดีแต่อย่างใด ขอบคุณครับ
3.แต่เนื่องจาก Battery ภายใน Power Bank เป็นขนาด 3.7V จึงต้องมีวงจรเพิ่มแรงดันเป็น 5V - 12V เพื่อให้สามารถชาร์จกับมือถือหรืออุปกรณ์ต่างๆได้ (Quick Charge 3.0 หรือเรียกสั้นๆว่า QC3.0 รองรับการชาร์จด่วน) ซึ่งจะเกิดการสูญเสียพลังงานในส่วนของวงจรเพิ่มแรงดันนี้ด้วย "โดยทั่วไปผมคิดว่าประสิทธิภาพของวงจรน่าจะอยู่ที่ 80% หรือมากกว่า นั่นแปลว่าเราสูญเสียพลังงานไป 20% นั่นเอง" ดังนั้นพลังงานรวมที่แท้จริงจะสามารถคำนวนได้จากสูตรดังนี้
พลังงานรวมที่แท้จริงที่ Battery จ่ายได้ P(Battery 100%) = P(Power Bank 80%) + Ploss(สูญเสียจากวงจรเพิ่มแรงดัน 20%)
เมื่อทำการแปลงสมการก็จะได้สูตรคำนวนออกมาตามนี้ P(Battery 100%) = P(Power Bank 80%) / 0.8
P(Battery 100%) = 84979.9 / 0.8
106224.8 mW
4. จากข้อ 3 เราจะมาคำนวนว่า Power Bank ที่นำมาทดสอบนี้จะมีความจุถึง 30000mA ไหมนะ?
ความจุของ Power Bank ตัวนี้ = P(Battery)/3.7 (คือแรงดันของ Battery ภายใน Power Bank)
= 106224.8 / 3.7
28709.4 mA
5.จากข้อที่ 4 จะได้ว่า Power Bank ตัวนี้มีความจุประมาณ 29000mA (จากการทดลองนี้นะครับ)
สรุป
จากการทดสอบทั้งหมดประมาณ 7 ชั่วโมงของเรา Power Bank มีความจุใกล้เคียงกับค่าที่ผู้ผลิตบอกไว้ ซึ่งค่าความจุที่หายไปนั้นอาจเกิดจากค่าการสูญเสียอื่นๆ...."ก็เป็นได้"(เสียงหลอนนน!!!!)
ตอนต่อไปเราจะมาดูกันว่าเราต้องใช้พลังงานมากเท่าไรและเสียค่าไฟฟ้ากี่บาท ในการชาร์จ Power Bank 30000 mA ตัวนี้จนเต็ม
**การทดสอบนี้เป็นเพียงการศึกษาการจ่ายพลังงานไฟฟ้าของ Power Bank เท่านั้น ไม่ได้มีจุดประสงค์อื่นที่มีเจตนาบอกว่า Power Bank ตัวนี้ดีหรือไม่ดีแต่อย่างใด ขอบคุณครับ
บทความโดย Pomtep Narak
2019/05/24
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น