วงจรซีเนอร์ไดโอดพื้นฐาน
การเริ่มต้นใช้งานซีเนอร์ไดโอดอย่างง่าย
ก่อนที่เราจะออกแบบวงจรควบคุมแรงดันด้วยซีเนอร์ไดโอดนั้น เราต้องรู้ก่อนว่า เราจะทำให้ซีเนอร์ไดโอดทำงานได้อย่างไร ว่าแล้วเรามาดูวิธีง่ายๆกันเลยดังนี้โดยเราจะต่อวงจรตามรูปด้านบน โดยจะต่อตัวต้านทานอนุกรมกับซีเนอร์ไดโอด แล้วป้อนไฟบวกให้ตัวต้านทานที่ต่ออนุกรมกับซีเนอร์ไดโอด(ฝั่งขาK cathode) และป้อนไฟลบให้ขา A(anode) โดยแรงดันที่ป้อนต้องมากกว่าแรงดัน Vz เพียงเท่านี้ ซีเนอร์ไดโอดก็จะเริ่มทำงานได้แล้ว
วงจรใช้งานเบื้องต้น
1.วงจรควบคุมแรงดันให้คงที่โดยใช้ซีเนอร์ไดโอดอย่างง่าย
รูปที่ 1
Vcc = 11V ~ 12V
Vz = 5.49V ~ 5.73V
Vload = 5.1V ~ 6.5V
Iload = 3mA ~ 5mA
Iz = 0.5mA ~ 13.61mA (*1)
Pd = 78mW (*2)
สิ่งที่เราต้องคำนวณหา
Rz = Ω?(*1 ) Iz (แนะนำ) ได้มาจาก Iz(min)(Izzk) ~ Iz(max)(Pd / Vz(max))
รูปที่ 2
(*2 ) Pd(แนะนำ) 78mW (Pd(max) × 52%) ได้มาจากกราฟ(ดูรูปที่ 2) ที่อุณหภูมิ 85°C ทำไมเราถึงต้องเลือกที่อุณหภูมินี้ เนื่องจากการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไป จะเกิดความร้อนขึ้นเสมอ เพื่อให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด ในการดูสเปคของอุปกรณ์ต่างๆที่เกิดความร้อนขณะใช้งาน ผมขอแนะนำให้ดูค่าที่ 85°C นะครับ เพื่อประสิทธิภาพที่ดีของวงจร
การคำนวณแสดงดังต่อไปนี้
Rz(min) = (Vcc(min) - Vz(max)) / (Iz(min)+Iload(max))
= (11 - 5.73) / (0.5+5)
= (11 - 5.73) / (0.5+5)
= 5.27 / 5.5
= 958Ω
= 958Ω
Rz(max) = (Vcc(max) - Vz(min)) / (Iz(min)+Iload(max))
= (12 - 5.49) / (0.5+5)
= 6.51 / 5.5
= 1.184kΩ
ค่า Rz ที่แนะนำให้เลือกใช้ได้คืออยู่ระหว่าง Rz(min) ~ Rz(max)
ดังนั้น จากตัวอย่างเราก็จะได้ Rz = 958Ω ~ 1.184kΩ โดยผมจะเลือกใช้ค่าที่มีทั่วไปคือ 1kΩ นั่นเองครับ
= 6.51 / 5.5
= 1.184kΩ
ค่า Rz ที่แนะนำให้เลือกใช้ได้คืออยู่ระหว่าง Rz(min) ~ Rz(max)
ดังนั้น จากตัวอย่างเราก็จะได้ Rz = 958Ω ~ 1.184kΩ โดยผมจะเลือกใช้ค่าที่มีทั่วไปคือ 1kΩ นั่นเองครับ
*Iload(max) ต้องน้อยกว่า Iz(max) - Iz(min)
2.วงจรป้องกัน Output Power supply แรงดันสูงผิดปกติแบบง่าย
รูปที่ 3
จากรูปที่ 3 เราจะมาคำนวณวงจรเพื่อเลือกซีเนอร์ไดโอด และฟิวส์มาใช้งานเพื่อใช้ป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับโหลดกรณีแรงดัน Supply เกินขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางตัว เสียหายได้ง่ายเมื่อได้รับแรงดันไฟฟ้าเกิน เช่น อุปกรณ์จำพวก USB ทั้งหลาย รวมถึง IC ต่างๆ เป็นต้น ก่อนอื่นเราต้องมารวบรวมค่าพารามิเตอร์ต่างๆกันก่อน ตามรายละเอียดข้างล่างนี้เลย
Vsupply = 4.8V ~ 5.2V
Isupply(max) = 2.1A
สิ่งที่เราต้องคำนวณหา
Fuse = ?A
Vz = ?V
Iz = ?A
Pd = ?W
Iz = ?A
Pd = ?W
การคำนวณแสดงดังต่อไปนี้
Fuse < Isupply(max) / 2.2
< 2.1 / 2.2
< 0.955A
Vz(min) > Vsupply(max) × 1.2
> 5.2 × 1.2
> 6.24V
> 6.24V
Iz(max) > Isupply(max) / 12
> 2.1 / 12
> 2.1 / 12
> 0.175A
Pd(min) > Iz(max) × Vz(min)
> 0.175 × 6.24
> 0.175 × 6.24
> 1.092W
Fuse ที่เราเลือกควรมีค่าใกล้เคียงกับค่าที่เราคำนวณได้หรือน้อยกว่า *หากเราเลือกฟิวส์มากเกินไป อาจทำให้ฟิวส์ไม่ขาดนั่นเอง จุดนี้ต้องระวังนะครับ
Vz(min) แนะนำให้เลือกค่าใกล้เคียงหรือมากกว่าค่าที่คำนวณได้ *ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหาจาก Overshoot(voltage) ของ Power Supply ได้ โดยทั่วไป Power supply ที่ได้มาตรฐาน จะมีค่า Overshoot < 15% ส่วนเรื่อง Overshoot คืออะไร ผมจะขออธิบายให้ในบทความของ Switching Power Supply ขนาดเล็กนะครับ
รูปที่ 4
Iz(max) จากสูตรด้านบน ผมอ้างอิงมาจากผลการทดลองที่ผมได้ทำขึ้น 60 ตัวอย่าง อ้างอิงผลลัพธ์ดังรูปที่ 4 ครับ
Pd(min) ก็เช่นกันนะครับ เลือกค่าที่ใกล้เคียงหรือมากกว่า *ไม่เช่นนั้นฟิวส์อาจจะไม่ขาด เพราะซีเนอร์ไดโอดจะขาดแทน จุดนี้ต้องระวังนะครับ
ดังนั้นจากตัวอย่างเราสรุปได้ว่า ฟิวส์ที่เลือกใช้ต้องมีค่าน้อยกว่า 0.955A (ถ้าโหลดใช้กระแสน้อยกว่านี้สามารถลดสเปคของฟิวส์ลงได้อีกเท่าที่โหลดต้องการ) ซีเนอร์ไดโอดที่เลือก ต้องมีค่า Vz(min) มากกว่า 6.24V และมี Pd(min) มากกว่า 1.092W ตัวอย่างซีเนอร์ไดโอดที่เลือกใช้งาน ผมเลือกเบอร์ 1N5921B รายละเอียดต่างๆของตัวซีเนอร์ไดโอด ดังแสดงในรูปที่ 5
รูปที่ 5
เหตุผลที่เลือก 1N5921B แสดงดังนี้ครับ
Vz = 6.46V ~ 7.14V ซึ่งมากกว่า 6.24V จึงสามารถใช้งานได้
Pd(@85°C) = Pd - ((△T) × Pd(loss))
= 3 - ((85 -25(อุณหภูมิห้อง)) × 24)
= 1.56W ซึ่งมากกว่า 1.092W จึงสามารถใช้งานได้
ดังนั้นเราสามารถใช้งาน 1N5921B ได้ เพราะตรงตามเงื่อนไขทุกประการครับ
**สำคัญมาก "คำแนะนำทั้งหมดเป็นเพียงแนวทางในการออกแบบเท่านั้น ไม่ได้เป็นการยืนยันว่าจะไม่เกิดความผิดพลาดหรือข้อบกพร่องขึ้นกับวงจรที่ออกแบบ ดังนั้นผู้ออกแบบต้องออกแบบวงจรด้วยความระมัดระวังรอบคอบนะครับ" ผมขอจบการคำนวณวงจรซีเนอร์ไดโอดเบื้องต้นแต่เพียงเท่านี้ ยังไงฝากติดตามกันด้วยนะครับ หากท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติม อินบล็อคเข้ามาสอบถามได้เลยครับ เจอกันบทความหน้า ขอบคุณครับ
บทความโดย Pomtep Narak
2019/03/18
ขอถามเรื่องทรานซิสเตอร์ได้ไหมครับ
ตอบลบด้วยความยินดีครับ แชทมาหาผมได้เลย หรือรออ่านบทความต่อไปก็ได้ครับ ผมทำเรื่องทรานซิสเตอร์ครับบทความหน้า
ลบด้วยความยินดีครับ
ตอบลบ