เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อุทัย, พระนครศรีอยุธยา, Thailand

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

LAB#3 OPAMP AD827SQ

AD827SQ

          วันนี้ขอเสนอออปแอมป์ดีๆอีกซักตัวกับ AD827SQ ความพิเศษของ Series SQ คือทำมาจากเซรามิก ทำให้ตัวบอดี้จะดูเก่าๆเท่ไปอีกแบบ มีรูปตัวจริงแนบมาให้ดู พร้อมบางส่วนของดาต้าชีท







น้ำเสียงที่ได้ออกแนวเบสนุ่มลึกอาจจะยานเล็กน้อยในบางเพลง แหลมออกไสๆติดแหบนิดๆแต่กลางอาจจะยังด้อยไปบ้างเล็กน้อย แต่สำหรับผมเป็นคนที่ไม่ค่อยชอยฟังดนตรีแบบแฟลต ผมจึงชอบแนวนี้มากๆหลงไหลฟังกันเพลินๆเลยครับ โดยผมเทสกับ System ตามนี้ครับ

SOURCES : NOTE10+ (DSP:EXYNOS_9825)
DAC : QUALCOMM CSR8675 24BIT
PREAMP : NF&JFXAUDIO TUBE-03
OPAMP : OPA1622 (TUBE DRIVER)
AD827SQ (PREAMP TONE)
TUBE : US_GE 5654W USA-MODEL
AMP OUT : SAMSUNG Q9OR7.1.4CH (EQ:FLAT)
MODIFY BY #นักประดิษฐ์เพ้อฝัน

อาจจะยังไม่ได้เสียงที่สุดๆเนื่องจากตัว SAMSUNG Q90R มันรับอินพุตดิจิตอล ผมจึงต้องแปลงเสียงจากปรีแอมป์หลอดเป็นดิจิตอนก่อนจึงส่งเข้า Q90R โดยเลือกใช้ ADC 24BIT ของ Qualcomm CSR8675 แต่การเทสเน้นไปที่ออปแอมป์เป็นหลักครับ โดยคราวนี้พูดถึง AD827SQ ส่วนครั้งหน้าเราจะมาดูตัว OPA1622 กันครับไว้มีโอกาสจะอัดเสียงมาให้ลองฟังกันนะครับ

**การทดสอบนี้เป็นเพียงการทดสอบจากความคิดของผู้ทดสอบเพียงผู้เดียวเท่านั้น การทดสอบนี้มิได้เป็นเครื่องยืนยันว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้ AD827SQ ดีหรือไม่ดีแต่อย่างใด ขอบคุณครับ

บทความโดย Pomtep Narak

2020/01/25

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

LAB#1 Power Bank 30000mA Test



LAB#1 การทดสอบความจุ Power Bank 30000mA โดยใช้โหลดจำลองแทนโทรศัพท์มือถือ


อุปกรณ์ที่ใช้ใน LAB#1 นี้

วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 11 มารู้จักทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้า (FET) กันเถอะ EP1



สัญลักษณ์ของ E - Mosfet

ทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้า


          ทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้า หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า เฟต (FET ย่อมาจาก Field Effect Transistor) เป็นทรานซิสเตอร์ชนิดหนึ่งซึ่งมีหลักการทำงานด้วยการใช้สนามไฟฟ้าควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า 

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2562

บทที่ 10 มารู้จักทรานซิสเตอร์กันเถอะ EP4 (วงจรขยายกระแสของ IC Regulator)


วงจรขยายกระแส IC78XX

         วงจรขยายกระแส IC78XX 79XX นั้นช่วยให้เราใช้ขีดความสามารถของวงจรให้สามารถจ่ายกระแสเพิ่มขึ้นได้โดยที่แรงดัน Output คงที่ในระดับที่น่าพอใจ(ใกล้เคียงกับค่าของตัว IC มากๆ)

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562

บทที่ 9 มารู้จักทรานซิสเตอร์กันเถอะ EP3 (Zener and Transistor Regulator)


Zener and Transistor Regulator

         วงจรซีเนอร์ไดโอดและทรานซิสเตอร์เร็กกูเลเตอร์นั้น คือวงจรที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้รักษาระดับแรงดัน Output ให้คงที่ มีข้อดีตรงที่แรงดัน Ripple Output ค่อนข้างต่ำออกแบบได้ง่าย ปรับเปลี่ยนได้ง่าย สัญญาณรบกวนต่ำ

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 8 มารู้จักทรานซิสเตอร์กันเถอะ EP2 (Cut-off & Satuation Region)


สัญลักษณ์ของทรานซิสเตอร์

การทำงานของทรานซิสเตอร์ แบ่งเป็น 3 รูปแบบดังนี้



          1. Cut-off Region (บทที่ 8 , 9 , 10)
          2. Satuation Region (บทที่ 8 , 9 , 10)
          3. Active Region (ผมยังไม่เชี่ยวชาญโหมดนี้ ขอมาเพิ่มเติมบทความในอนาคตนะครับ)

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 7 มารู้จักทรานซิสเตอร์กันเถอะ EP1


สัญลักษณ์ของทรานซิสเตอร์

ทรานซิสเตอร์

          ทรานซิสเตอร์ หรือชื่อภาษาอังกฤษ Transistor คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้า

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 6 การคำนวณวงจรซีเนอร์ไดโอด


วงจรซีเนอร์ไดโอดพื้นฐาน

การเริ่มต้นใช้งานซีเนอร์ไดโอดอย่างง่าย

          ก่อนที่เราจะออกแบบวงจรควบคุมแรงดันด้วยซีเนอร์ไดโอดนั้น เราต้องรู้ก่อนว่า เราจะทำให้ซีเนอร์ไดโอดทำงานได้อย่างไร ว่าแล้วเรามาดูวิธีง่ายๆกันเลยดังนี้

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทที่ 5 มาเรียนรู้ซีเนอร์ไดโอดกันเถอะ


สัญลักษณ์ของซีเนอร์ไดโอด

ซีเนอร์ไดโอด

          ซีเนอร์ไดโอด หรือชื่อภาษาอังกฤษ Zener diode เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ที่จัดอยู่ในกลุ่มของไดโอด แต่เราจะนำมาใช้งานแบบไบอัสกลับ เนื่องจากตัวซีเนอร์ไดโอดนั้น ถูกออกแบบมาให้กระแสสามารถไหลแบบไบอัสกลับได้