เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อุทัย, พระนครศรีอยุธยา, Thailand

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562

บทที่ 9 มารู้จักทรานซิสเตอร์กันเถอะ EP3 (Zener and Transistor Regulator)


Zener and Transistor Regulator

         วงจรซีเนอร์ไดโอดและทรานซิสเตอร์เร็กกูเลเตอร์นั้น คือวงจรที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้รักษาระดับแรงดัน Output ให้คงที่ มีข้อดีตรงที่แรงดัน Ripple Output ค่อนข้างต่ำออกแบบได้ง่าย ปรับเปลี่ยนได้ง่าย สัญญาณรบกวนต่ำ
แต่มีข้อเสียตรงที่แรงดัน Output ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงง่ายเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป และมีค่าความคลาดเคลื่อนค่อนข้างสูง จึงเหมาะกับวงจรที่ไม่ได้ต้องการความเที่ยงตรงของแรงดันมาก หรือเป็นวงจรทดลองเพื่อให้เข้าใจถึงวงจรอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ปัจจุบันยังมีใช้งานอยู่ เช่น เป็นวงจรแหล่งจ่ายต้นทางให้ วงจรเพาเวอร์ซัพพลายแรงดันต่ำๆอื่นๆมาต่ออีกชั้นนึง เป็นต้น ว่าแล้วมาดูตัวอย่างวงจรที่ใช้ออกแบบมาให้ร่วมกันทำงานระหว่างอุปกรณ์ทั้งสามตัวที่เราได้ศึกษากันมาในบทความก่อนหน้านี้ คือ ไดโอด ซีเนอร์ไดโอด และ ทรานซิสเตอร์

ตัวอย่างวงจร Zener and Transistor Regulator


รูปที่ 1 วงจร Zener and Transistor Regulator

จากรูป สมมติให้ Input = 15Vrms(AC) จากหม้อแปลง 2A ต้องการ Outut 11V - 13V จ่ายกระแส 0.8A โดยทำการเลือกอุปกรณ์ดังนี้ ทรานซิสเตอร์เบอร์ BD139 ไดโอดเบอร์ 1N5400 ซีเนอร์ไดโอดเบอร์ 1N4743 ก่อนอื่นเรามารวบรวมค่าพารามิเตอร์ต่างๆจากดาต้าชีทของอุปกรณ์แต่ละตัวกันครับ



รูปที่ 2 ทรานซิสเตอร์


รูปที่ 3 ทรานซิสเตอร์(ต่อ)


รูปที่ 4 ไดโอด


รูปที่ 5 ซีเนอร์ไดโอด
ทรานซิสเตอร์
BD139-16
          VCE(max)   = 80V
          VBE(max)   = 1V
          IC(max)     = 1.5A
          hfe(min)     = 100
          PD(max)    = 6.5W (85⁰C)

ไดโอด
1N5400
          Vf    = 1V
           IF    = 3A

ซีเนอร์ไดโอด
1N4743
          Vz   =  12.35V - 13.65V (error 5%)
          Iz     =  0.25mA - 53mA
          PD   = 0.72W (85⁰C)

การคำนวณ
          V1    = √2  ×  Vin(AC) - 2Vf - (Vripple / 2)
                   = (1.414 × 15) - (2×1) - (1 / 2)
                   = 19.11V

          C1    = (Iout × t) / Vripple      F
                   = (1 × 0.01) / 1
                   = 0.01 F   =  10000 uF

**t = 1/2f  (f ความถี่ Input สำหรับประเทศไทย 50Hz)
      = 0.01 เสมอ
**แนะนำ Vripple ที่ 1 Vp-p

          Vout = Vz(min) - VBE   ~  Vz(max) - VBE  
                   =  12.35 - 1     13.65 - 1
                  =  11.35V  ~  12.65V

          IB      = IC / hfe(min)
                  = 0.8 / 100    
                  = 0.008A   =  8mA

          IR1   = IB + Iz(min)
                   = 8mA + 0.25mA
                   = 8.25mA

          R1     <= (V1 - Vz(max)) / IR1
                   <= (19.11 - 13.65) / 8.25mA
                   <= 661Ω  เลือกค่า 620Ω

คำนวณหาค่า PD ของทรานซิสเตอร์ว่าเพียงพอหรือไม่
          PD  =  (V1 - Vout(min)) × Iout
                 =  (19.11 - 11.35) × 0.8
                 =  6.21W ไม่เกินค่า PD ของทรานซิสเตอร์ สามารถใช้งานได้ หากคำนวนแล้วเกิดจำเป็นต้องเปลี่ยนทรานซิสเตอร์ใหม่หรือลดกระแส Output

**ค่า C2 C3 C5 แนะนำค่า 0.1uf/25V เพื่อช่วยลดสัญญาณรบกวนและลดค่าแรงดันสวิงที่ Output อีกทั้งยังช่วย Soft Start อีกด้วย ส่วนค่า C4 แนะนำค่า 47uf/25V

การคำนวณทั้งหมดเพื่อให้เข้าใจง่ายผมจึงไม่ได้รวมค่าความคลาดเคลื่อนของอุปกรณ์ต่างๆเข้าไปคิดแค่ความคลาดเคลื่อนของ Vz เท่านั้น แต่โดยทั่วไปคำนวณแค่นี้ก็เพียงพอแล้วครับ หากท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติม อินบ๊อกเข้ามาสอบถามได้เลยครับ เจอกันบทความหน้าครับ**สำคัญมาก "คำแนะนำทั้งหมดเป็นเพียงแนวทางในการออกแบบเท่านั้น ไม่ได้เป็นการยืนยันว่าจะไม่เกิดความผิดพลาดหรือข้อบกพร่องขึ้นกับวงจรที่ออกแบบ ดังนั้นผู้ออกแบบต้องออกแบบวงจรด้วยความระมัดระวังรอบคอบนะครับ" ขอบคุณครับ


บทความโดย Pomtep Narak
2019/04/14

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น