ไดโอด
ไดโอด
ไดโอดหรือชื่อภาษาอังกฤษ Diode เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชนิดสองขั้วคือ P (Anode) และ N (Cathode)ที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า มันจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว
โดยการป้อนไฟบวกให้ P และไฟลบให้ N เรียกการต่อแบบนี้ว่า "ไบอัสตรง" และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม คือจ่ายไฟลบให้ P และไฟบวกให้ N เรียกว่าการต่อแบบนี้ว่า "ไบอัสกลับ" ซึ่งในกรณีไบอัสกลับต้องป้อนค่าแรงดันไม่เกินจากค่าที่ไดโอดทนได้ เราเรียกค่านั้นว่า "แรงดันพังทลาย" (Breakdown voltage) ถ้าหากเราป้อนแรงดันไบอัสกลับเกินค่าแรงดันพังทลาย ก็จะทำให้ไดโอดตัวนั้นนำกระแสได้แต่ตัวไดโอดเกิดความเสียหาย
โดยการป้อนไฟบวกให้ P และไฟลบให้ N เรียกการต่อแบบนี้ว่า "ไบอัสตรง" และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม คือจ่ายไฟลบให้ P และไฟบวกให้ N เรียกว่าการต่อแบบนี้ว่า "ไบอัสกลับ" ซึ่งในกรณีไบอัสกลับต้องป้อนค่าแรงดันไม่เกินจากค่าที่ไดโอดทนได้ เราเรียกค่านั้นว่า "แรงดันพังทลาย" (Breakdown voltage) ถ้าหากเราป้อนแรงดันไบอัสกลับเกินค่าแรงดันพังทลาย ก็จะทำให้ไดโอดตัวนั้นนำกระแสได้แต่ตัวไดโอดเกิดความเสียหาย
กราฟคุณสมบัติเฉพาะของกระแสและแรงดันของรอยต่อ p-n ของไดโอด
จากรูปบน ด้านขวา จะเห็นได้ว่าเมื่อเราป้อนแรงดันไบอัสตรงมากกว่าแรงดัน Vd หรือในดาต้าชีทนิมยมเรียกว่า Vf (ค่าโดยประมาณของ silicon diode 0.6V และ germanium diode 0.3V) ตัวไดโอดก็จะเริ่มทำงาน ส่วนในรูปบน ด้านซ้ายเป็นการป้อนไบอัสกลับ ดังที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อเราป้อนแรงดันไบอัสกลับสูงกว่าแรงดันพังทลาย ก็จะทำให้ไดโอดตัวนั้นนำกระแสได้แต่ตัวไดโอดเกิดความเสียหายจึงไม่แนะนำให้ใช้งานในย่านนี้ ตัวอย่างการดูดาต้าชีทตามรายละเอียดด้านล่างกันเลยครับ
ตัวอย่างดาต้าชีท 1N4001 - 1N4007
สิ่งที่เราต้องรู้เมื่อเราจะนำไดโอดมาใช้งาน
1 วงจรที่เรานำไปใช้วงจรอะไร
2 ค่าแรงดันสูงสุดของวงจร
3 มีการป้อนไบอัสกลับไหม
4 กระแสสูงสุดของวงจร
5 Vf ที่ต้องการ
6 อุณหภูมิที่ไดโอดทนได้
7 ขนาดของพื่นที่วางไดโอด (พื้นที่สำหรับวางบน PCB)
8 หน้าที่ของไดโอดที่เราจะนำไปใช้งาน
(จะมีการแนะนำวงจร ที่ใช้งานบ่อยๆ ในบทความต่อไป)
สิ่งสำคัญในการดูดาต้าชีท หรือค่าพารามิเตอร์ต่างๆของไดโอด
1. เราต้องรู้เบอร์ไดโอดที่เราจะใช้งาน
2. ต้องดูค่า Vf คือค่าแรงดันดรอปหรือแรงดันตกคร่อมขณะไดโอดได้รับไบอัสตรง
3. ต้องดูค่า Vr คือค่าแรงดันสูงสุดที่ไดโอดสามารถทนได้ในขณะได้รับไบอัสกลับ
4. ต้องดูค่า If คือค่ากระแสสูงสุดที่ไหลผ่านไดโอดได้ขณะไบอัสตรง
5. ต้องดูค่า Ifsm(peak) คือค่ากระแสสูงสุดชั่วขณะที่ไดโอดสามารถทนได้ขณะไบอัสตรง(เช่น ตอนเปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ครั้งแรก จะมีกระแสกระชากจำนวนมาก ไหลเข้าสู่วงจร เป็นต้น)
6. ต้องดูค่า Ir คือค่ากระแสรั่วไหลที่ไหลผ่านไดโอดขณะได้รับไบอัสกลับ
7. ต้องดูค่า Tj ค่าอุณหภูมิสูงสุดที่ไดโอดทนได้ขณะทำงาน ถ้าเรานำไปใช้งานในบริเวณที่มีอุณหภูมิมากกว่านี้อาจเกิดความเสียหายขึ้นกับตัวไดโอดได้
พารามิเตอร์ที่ต้องดูเพิ่มเติมเป็นพิเศษ
1. If กับอุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่า If(max) จะลดลง ต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วยตอนออกแบบวงจร
2. Vf กับกระแสที่ไหลผ่านตัวไดโอด โดยมีความสัมพันธ์โดยตรงกันคือ เมื่อ If น้อยลง Vf ก็จะน้อยลง เมื่อ If สูงขึ้น Vf ก็จะสูงขึ้นตาม
3. Vf กับอุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่า Vf ลดลง ต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วยตอนออกแบบ
**หลายครั้งที่ผมได้พบเจอปัญหาของการออกแบบที่เกิดจากการที่ผู้ออกแบบไม่ได้คำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆในการออกแบบด้วย(หรือด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์) เช่น If หรือ Vf ของไดโอดที่ออกแบบไว้นั้นไม่เพียงพอในตอนที่เรานำวงจรนั้นๆไปใช้งานจริงเพราะเกิดจากความร้อนที่เพิ่มขึ้น และหลายครั้งเกิดความเสียหายขึ้นกับวงจรของเรา ดังนั้นอยากจะขอเน้นย้ำว่าการออกแบบวงจรใดๆควรพิจารณาให้รอบคอบถึงองค์ประกอบต่างๆของวงจรณ์เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ อีกทางหนึ่งผมก็จะมาคอยแชร์ประสบการณ์ที่ผมพบเจอมากับทุกๆท่านที่เข้ามาอ่านในบทความต่อๆไป หรือหากมีคำแนะนำอื่นๆเพิ่มเติมโปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อมาหาผมนะครับ และในบทความหน้า เราจะมาลองใช้งานไดโอดกันดู ฝากติดตามกันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
**หลายครั้งที่ผมได้พบเจอปัญหาของการออกแบบที่เกิดจากการที่ผู้ออกแบบไม่ได้คำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆในการออกแบบด้วย(หรือด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์) เช่น If หรือ Vf ของไดโอดที่ออกแบบไว้นั้นไม่เพียงพอในตอนที่เรานำวงจรนั้นๆไปใช้งานจริงเพราะเกิดจากความร้อนที่เพิ่มขึ้น และหลายครั้งเกิดความเสียหายขึ้นกับวงจรของเรา ดังนั้นอยากจะขอเน้นย้ำว่าการออกแบบวงจรใดๆควรพิจารณาให้รอบคอบถึงองค์ประกอบต่างๆของวงจรณ์เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ อีกทางหนึ่งผมก็จะมาคอยแชร์ประสบการณ์ที่ผมพบเจอมากับทุกๆท่านที่เข้ามาอ่านในบทความต่อๆไป หรือหากมีคำแนะนำอื่นๆเพิ่มเติมโปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อมาหาผมนะครับ และในบทความหน้า เราจะมาลองใช้งานไดโอดกันดู ฝากติดตามกันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลอ้างอิงจาก
https://th.wikipedia.org/wiki
https://www.vishay.com/docs/88503/1n4001.pdf
https://www.onsemi.com/pub/Collateral/1N4001-D.PDF
https://1sheeld.com/tutorials/arduino-relay-lamp/diode-current/
บทความโดย Pomtep Narak
2019/03/07
So good
ตอบลบThank you very much.
ตอบลบเนื้อหาเข้าใจง่ายคะ รอติดตามอยู่นะคะ
ตอบลบขอบคุณครับ ฝากติดตามยาวๆเลยนะครับ
ลบ